ความสำคัญของนมแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือการให้ความรัก การให้นมลูก

การให้นมลูก คือการให้ความรัก

การให้นมลูก คือการให้ความรัก

“การเลี้ยงลูก” ไม่ใช่ “การให้อาหาร” แต่อย่างเดียว คุณต้องให้ความรักด้วย เวลาให้นมลูก ควรคิดว่าคุณกำลังให้ “ความรัก” ไม่ใช่กำลัง “ให้อาหาร” น่าเสียดายที่ตามโรงพยาบาลมักจะเลี้ยงเด็กแบบ “ให้อาหาร” เพื่อเพิ่มน้ำหนักมากกว่าอย่างอื่น ถ้าไปดูห้องเด็กตามโรงพยาบาลบางแห่ง คุณจะเห็นเด็กนอนเรียงกันเป็นแถว หน้าตะแคงข้างดูดนมจากขวดซึ่งใช้หมอนหรือผ้าหนุนอีกทีหนึ่ง นาน ๆ พยาบาลก็จะเดินเข้ามาดูเสียทีหนึ่ง

ที่โรงพยาบาลต้องเลี้ยงเด็กแบบนี้ ก็คงเป็นเพราะจำนวนพยาบาลไม่เพียงพอที่จะมาดูแลเด็กแต่ละคน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อคุณแม่มาดูลูกที่ห้องกระจกเห็นทางโรงพยาบาลให้นมลูกแบบนั้น พอกลับบ้านก็เอาอย่างบ้าง การเลี้ยงลูกก็เลยเป็น “การให้อาหาร” เพื่อให้อ้วนขึ้นเท่านั้นจริง ๆ

แต่ข้อแตกต่างระหว่างโรงพยาบาลกับบ้านก็คือ ที่โรงพยาบาลมีคนมาก พยาบาลผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาดุแลเก ถึงแม้จะให้เด็กนอนตะแคงดูดนมอยู่คนเดียวก็ไม่ค่อยมีอันตราย แต่ที่บ้านมีคนน้อย บางทีคุณแม่อยู่บ้านคนเดียว มีแขกมาหาเผลอคุยกันนานไปหน่อย หรืออะไรในครัวเดือด เข้าไปดูอยู่ ขวดนมเกิดหลุดจากปากลูก ลูกแหวะนมหรือสำลักนมขณะนอนหงายอยู่ นมเลยเข้าไปในหลอดลมเป็นอันตรายได้

นอกจากอันตรายแล้ว การให้นมลูกแบบนี้เป็นการละเลยไม่ให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูก ถึงคุณจะไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณก็เพียงแต่เปลี่ยนจากนมแม่มาเป็นนมวัวเท่านั้น คุณไม่ได้ละทิ้งความรักลูกไปด้วยมิใช่หรือ

เวลาให้นมลูก ควรนั่งในท่าที่สบาย และอุ้มลูกอยู่บนตัก เวลาคุณรู้สึกสบาย ลูกจะรู้สึกว่าสัมผัสของคุณนุ่มนวลไปด้วย เมื่ออุ้มลูกในท่าที่ดีแล้ว จึงเอาขวดนมใส่ปาก เวลาให้นมลูก ขวดนมเป็นเพียงตัวประกอบเท่านั้น ตัวเอกคือตัวคุณแม่เอง และอย่าให้ตัวประกอบมาขัดขวางการแสดงของตัวเอกเสีย

หัวนม ควรเลือกที่ไม่แข็งจนเกินไป เด็กแต่ละคนชอบลักษณะของหัวนมไม่เหมือนกัน ควรเลือกแบบที่เหมาะกับลูกของคุณ ถ้าเห็นลูกดูดไม่ถนตัด ดูดลำบาก ควรจะเปลี่ยน รูหัวนมไม่ควรให้ใหญ่นัก เพราะนมจะออกากเกินไป เด็กดูดไม่ทันทำให้สำลัก แต่ถ้ารูเล็กเกินไป เด็กก็ต้องออกแรงดูดมา ทำให้เหนื่อย เลิกดูดเสียกลางคัน โดยทั่วไป ขนาดของรูหัวนมควรจะเป็นขนาดที่เมื่อคุณคว่ำขวดนม นมจะหยดประมาณหนึ่งหยดต่อหนึ่งวินาที

ตามปกติ เด็กอายุหนึ่งสัปดาห์ถึงครึ่งเดือน มักกินนมครั้งละประมาณ 70-100 ซีซี และดื่มหมดใน 10-20 นาที แต่มีเด็กบางคนที่พอดูดไปได้หน่อยหนึ่งก็หยุด เขี่ยแก้มก็แล้ว ขยับหัวนมไปมาก็แล้ว ก็ไม่ยอมดูด พอพักได้ 1-2 นาที จึงดูดต่ออีก สำหรับเด็กแบบนี้ก็เช่นกัน ไม่ควรให้นมแต่ละครั้งเกิน 30 นาที

สำหรับเด็กท่าทำอย่างไร ๆ ก็ไม่ยอมดุดแล้ว คุณไม่ควรเจาะรูหัวนมให้ใหญ่ขึ้นแล้วบังคับกรอกเข้าไป ถ้าเด็กไม่ยอมดูแล้วก็ไม่ต้องให้รอจนร้องหิวอีกค่อยให้ ถ้ารองภายใน 30 นาที ก็ให้นมขวดเดิมได้ แต่ถ้าเกินกว่านั้นไม่ควรให้นมขวดเก่า

เด็กอายุเพียง 10 วัน อาจยังดื่มนมแต่ละครั้งไม่เท่ากัน แต่ถ้าทุกครั้งดื่มไม่ถึง 50 ซีซี ควรปรึกษาแพทย์

ตามปกติเด็กอายุประมาณ 15 วัน จะกินนมเว้นช่วงประมาณ 3-4 ชั่วโมง วันละ 6-8 ครั้ง ครั้งละประมาณ 100 ซีซี แต่เด็กที่กินครั้ง 120 ซีซี และวันละ 6 ครั้งก็มี เด็กบางคนกินน้อย กินนมครั้งละ 70  ซีซี แต่วันละ 6 ครั้งก็พอ เด็กที่กินจุให้นมครั้งละ 120 ซีซี ก็ยังดูท่าไม่พอนั้น ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 วัน ไม่ควรให้เกินกว่านี้ ถ้าร้องไม่ยอมจะเอาอีก ควรให้น้ำต้มสุกแทนจะดีกว่า

หลังให้นม ควรจับเด็กพาดไหล่หรือพาดแขน ให้ตัวตรง เพื่อให้เรอเสียก่อนจึงค่อยวางลงนอน และเวลาให้นมต้องคอยระวังให้นมเต็มคอขวดอยู่เสมอ เพื่อมิให้เด็กดูดเอาแต่ลมเข้าไปมาก


เกี่ยวกับผู้เขียน

การเลี้ยงดูลูก เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์และเป็นสิ่งที่ยากที่จะเลี้ยงดูให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี การเสาะแสวงหาความรู้และประสบการณ์ในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับคนที่เป็นพ่อและแม่ ดังนั้นผมจึงมีความคิดและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก ตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เอามาแชร์ให้กับบรรดาคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์และสามารถนำเอาไปใช้ได้จริง

บทความที่น่าสนใจ

Powered by Blogger .